บทความเข้าใจง่ายๆ สำหรับใครที่กำลังหากระเป๋าใส่ชุดว่ายน้ำ หรือ กระเป๋าใส่ผ้าเปียกสำหรับชุดกีฬาชุ่มเหงื่อ หรือใส่เสื้อผ้าเลอะที่ต้องเปลี่ยนระหว่างวัน เพราะอยากลดการใช้ Single-Use plastic bag แล้วสงสัยว่าตกลงอะไรกันแน่ที่จะตอบโจทย์ ลองมาอ่านประเภทของกระเป๋าใส่ผ้าเปียกแต่ละแบบกันดูนะคะ
ก่อนอื่นเลย ให้ทำความเข้าใจก่อนว่าความสามารถในการกันน้ำของกระเป๋าแต่ละประเภทอยู่ที่ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
- วัสดุที่ใช้
- รอยต่อต่างๆ รอบกระเป๋า
- วิธีการปิดปากกระเป๋า
ง่ายแค่นี้เองใช่มั้ยคะ งั้นเรามาดูกันเลยดีกว่า ว่าในท้องตลาดมีกระเป๋าแบบไหนบ้างที่เหมาะกับการนำมาใส่ผ้าเปียก
Ocean Pack : กระเป๋ากันน้ำ
กระเป๋าลักษณะนี้ มักจะเรียกกันว่า Ocean Pack บางท่านก็เรียกตรงๆ ว่ากระเป๋ากันน้ำ เพราะสามารถกันน้ำและลงไปลอยในน้ำได้โดยน้ำไม่เข้า (เมื่อปิดกระเป๋าอย่างถูกต้องแน่นหนา)
วัสดุ : มักจะทำจากพลาสติก PVC เอามาขึ้นรูปและซีลปิดรอยต่อต่างๆ บางยี่ห้อใช้ความร้อน บางยี่ห้อใช้กาวในการปิดรอยต่อ (ถ้าเป็นกาว สุดท้ายเมื่อโดนน้ำบ่อยๆ นานไปก็จะค่อยๆ หลุดค่ะ)
รูปร่างกระเป๋า : มักจะเป็นทรงกระบอกแนวตั้ง สามารถตั้งกับพื้นได้ และมีสายสะพายให้สามารถใช้งานได้เหมือนเป้ วัสดุทำสายจะเป็นประเภทไนล่อน เพื่อไม่ให้สายอมน้ำ แห้งง่าย และทนทาน
ลักษณะการใช้งาน : มักจะเป็นกระเป๋าที่มีช่องหลักเอาไว้ใส่ของช่องเดียว การปิดปากกระเป๋าจะเป็นการม้วนปากกระเป๋าลงมา2-3ทบ แล้วล๊อคด้วยตัวล๊อคอีกที (สาเหตุที่ไม่ใช้ซิปในการปิดปากกระเป๋า เพราะถึงแม้จะเป็นซิปกันน้ำก็ไม่สามารถล๊อคน้ำไม่ให้ออกจากร่องของฟันซิปได้)
ข้อดี : ทนทาน กันน้ำได้ทั้งน้ำเข้าและน้ำออก แปลว่าใส่เสื้อผ้าเปียกๆ น้ำก็ไม่ซึมออกมาข้างนอก หรือถ้าใส่ของแห้งข้างใน แล้วกระเป๋าโดนน้ำจากด้านนอก น้ำก็จะไม่ซึมเข้าในกระเป๋า
ข้อจำกัด : ขนาดและรูปร่างค่อนข้างเกะกะ และมีน้ำหนักมากกว่ากระเป๋าผ้า เนื่องจากกระเป๋าถูกออกแบบมาให้กันน้ำและลอยน้ำได้ จึงเป็น pvc เนื้อหนา เวลาที่ไม่ได้ใช้งาน จึงไม่สามารถจะพับให้มีขนาดเล็กๆได้ และสำหรับบางท่านจะรู้สึกว่า design และรุปร่างกระเป๋าไม่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน
Wet Bag : ถุงใส่ผ้าเปียก
ในตลาดมีกระเป๋าใส่ผ้าเปียกอยู่หลากหลาย ทั้งยี่ห้อที่ใส่ได้แค่ผ้าชื้นหรือผ้าเปื้อน (ใส่ผ้าเปียกแฉะแล้วน้ำจะซึมออกมา) และบางยี่ห้อที่สามารถใส่ผ้าเปียกแฉะได้โดยน้ำไม่ซึม
วัสดุด้านนอกกระเป๋า: ผ้าที่ใช้ทำวัสดุด้านนอกของกระเป๋า wet bag มีอยู่หลากหลาย ทั้งแบบที่กันน้ำได้และแบบที่กันน้ำไม่ได้ สำหรับยี่ห้อที่กันน้ำได้ จะมีข้อดีคือ ช่วยกันความชื้นและสิ่งสกปรกได้ดียิ่งขึ้น
วัสดุด้านในกระเป๋า : กระเป๋าหลายยี่ห้อจะใช้ผ้าชั้นเดียวในการตัดเย็บ โดยมากผู้ผลิตมักจะเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติกันน้ำ waterproof / water-repellent อย่างไรก็ดี ให้พึงสังเกตคุณภาพของวัสดุเคลือบกันน้ำด้านใน ควรเลือกซื้อกระเป๋าที่ผิวด้านในไม่หลุดร่อนออกมาได้ง่าย
** หากต้องการรู้ว่ากระเป๋าใบนั้น สามารถใส่ผ้าที่เปียกแฉะได้โดยที่น้ำไม่ซึมได้หรือไม่ ให้เปิดกระเป๋าดูด้านในว่ารอยต่อต่างๆ ด้านในกระเป๋า เป็นการเย็บ หรือเป็นการซีลแบบแนบสนิท หากเป็นการเย็บทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการเย็บต่อธรรมดา(Normal seam) หรือมีผ้ากุ๊นหุ้มตะเข็บ (Binding seam) หรือเป็นการเย็บพับทบตะเข็บ ก็ล้วนยังมีรูให้น้ำซึมผ่านตามร่องเข็มทั้งนั้น แต่หากตะเข็บรอยต่อต่างๆ เป็นการซีลแบบแนบสนิท จะหมายความว่ารอยต่อนั้นๆ กันน้ำซึมได้แน่นอน (จะซีลแบบร้อนหรือซีลกาวก็ต้องลุ้นกันดู)
รูปร่างกระเป๋าและการใช้งาน : กระเป๋า wet bag มักจะถูกนำมาใช้แบบ bag in bag คือเป็นกระเป๋าจัดระเบียบอยู่ในกระเป๋าใบนอกอีกที รูปร่างกระเป๋าจึงมักจะเป็นกระเป๋าสี่เหลี่ยมง่ายๆ โดยพยายามออกแบบมาให้มีความกะทัดรัด พกพาง่าย น้ำหนักเบา โดยมากจะมีปากกระเป๋าเป็นซิปเพื่อป้องกันไม่ให้ของด้านในไหลออกมา อย่างไรก็ดีหากกระเป๋าคว่ำและด้านในมีน้ำอยู่พอสมควรจะพบกว่าน้ำจะสามารถซึมผ่านซิปหรือรอยเย็บรอบๆ ปากกระเป๋าได้ (เพราะซิปทุกชนิดไม่สามารถกันน้ำได้100%)
อย่างไรก็ดี กระเป๋าที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมแนวตั้ง จะลดโอกาสของการไหลซึมของน้ำด้านในออกมาทางปากกระเป๋าได้ดีกว่าสี่เหลี่ยมแนวนอนที่ปากตื้นกว่า
ในปัจจุบัน มีกระเป๋า Wet Bag ยี่ห้อ Alan Hops ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์ต่างๆครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นซับในกระเป๋าที่เป็นวัสดุกันน้ำแบบที่ไม่มีการหลุดลอกของผิวผ้า การซีลรอยต่อซับในแบบแนบสนิท และการปิดปากกระเป๋าแบบม้วนแล้วล๊อค ที่แก้ปัญหาน้ำไหลซึมออกมาทางปากซิป
Wet/Dry Bag : ถุงแยกผ้าเปียก/ผ้าแห้ง
ถุงแยกผ้าเปียกและผ้าแห้งนี้ เป็นทางเลือกของการนำเสนอความคุ้มค่าและความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ ที่ต้องการพกกระเป๋าให้น้อยที่สุด โดยจะมีสองช่องกระเป๋าเพื่อให้สามารถเก็บของเปียกและของแห้งแยกกัน รูปลักษณ์มักจะหน้าตาคล้ายกับ wet bag แบบซิป แต่ที่เพิ่มเติมคือ ช่องซิปด้านหน้าเพื่อให้สามารถใส่ของได้เพิ่ม
วัสดุ : จะขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ ซึ่งให้เราพิจารณาเหมือนเดิมคือ ดูความสามารถในการกันน้ำของผิวสัมผัส และดูรอยต่อของผ้าด้านใน หากรอยต่อเป็นการซีลแบบแนบสนิท ก็แสดงว่ากักน้ำได้ ก้นกระเป๋าด้านนอกไม่ซึมเปียก และถึงแม้จะมีข้อจำกัดเรื่องที่น้ำสามารถซึมผ่านซิปและบริเวณปากกระเป๋าได้บ้าง แต่ด้วยความที่กระเป๋าเป็นทรงตั้ง หากไม่ได้จับกระเป๋าคว่ำ ก็นับว่ายังสามารถใช้งานได้ดี (ในกรณีที่ด้านในกระเป๋าเป็นแบบซีลสนิทนะคะ)
ข้อดีคือ ผู้ใช้ใส่ของได้มากขึ้น สะดวกเพราะสามารถเก็บของเปียกและแห้งแยกเอาไว้ในถุงใบเดียวได้เลย